ภูมิคุ้มกันบำบัดมีกี่แบบ

1

กลุ่มวิจัยพัฒนาแอนติบอดีเพื่อการรักษา
anti-PD-1

การรักษาด้วยแอนติบอดี ตามปกติ ร่างกายจะสร้างโปรตีน PD-1 เกาะอยู่บนเซลล์เม็ดเลือดขาว แต่หากกระบวนการนี้เกิดการกลายพันธุ์ จะมีโปรตีนชื่อ PD-L1 ซึ่งเป็นเซลล์มะเร็งมาเกาะบนเม็ดเลือดขาวนี้เช่นกัน และเมื่อโปรตีน 2 ตัวนี้ มาจับคู่กันเมื่อไหร่ ก็จะไปหยุดการทำงานของเซลล์เม็ดเลือดขาวที่มีหน้าที่ในการทำลายสิ่งแปลกปลอมในร่างกายทันที

โดยหลักการทำงานของแอนติบอดีที่กำลังวิจัยอยู่นี้ จะเข้าไปเป็นแผงกั้นระหว่างโปรตีน 2 ชนิด ไม่ให้จับตัวกัน เพื่อให้เม็ดเลือดขาวมีประสิทธิภาพในการจัดการกับเซลล์มะเร็งได้ตามปกติ

แอนติบอดีชนิดนี้ เริ่มใช้กันเยอะแล้วในต่างประเทศ แต่ไทยต้องนำเข้ามารักษาผู้ป่วย 1 คน ในราคาสูงถึง 220,000 บาท/3 สัปดาห์ ซึ่งจะตกปีละประมาณ 3.5 ล้านบาท โดยการรักษาต้องใช้ระยะเวลาอย่างน้อย 2 ปี เท่ากับว่าผู้ป่วย 1 คน จะต้องเสียค่าใช้จ่ายอย่างน้อยสูงถึง 7 ล้านบาท!

Pre-Clinical Stage
Clinical Stage
คาดการณ์ระยะเวลา
ใช้งานได้จริง
01

วิจัยจากหนูทดลอง

02

ปรับเข้ากับเซลล์มนุษย์

03

เพาะเลี้ยงเซลล์

อยู่ในขั้นตอนนี้
04

ทดสอบกับสัตว์ทดลอง

05

ทดสอบในอาสมัคร

คาดการณ์ระยะเวลาใช้งานได้จริง

2570
2

กลุ่มวิจัยภูมิคุ้มกันด้านเซลล์บำบัดมะเร็ง
Chimeric Antigen Receptor T cell (CAR T Cell)

การรักษาด้วยเซลล์เม็ดเลือดขาว วิธีการนี้ เป็นการรักษาเฉพาะบุคคล เนื่องจากเม็ดเลือดขาว ที่มีหน้าที่ในการกำจัดเซลล์มะเร็งมีประสิทธิภาพลดลง เราจะนำเซลล์เม็ดเลือดขาวของผู้ป่วยมะเร็งออกมาปรับแต่งให้ประสิทธิภาพดีขึ้น จากนั้น ทำการเพาะเลี้ยงให้ปริมาณเซลล์เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก ก่อนจะฉีดกลับเข้าไปในตัวผู้ป่วย เพื่อให้เซลล์เม็ดเลือดขาวไปทำหน้าที่โจมตีเซลล์มะเร็งในร่างกาย

โดยปัจจุบัน การรักษาวิธีนี้ ใช้ได้กับมะเร็งเม็ดเลือดขาว และมะเร็งต่อมน้ำเหลือง โดยผู้ป่วยมีโอกาสหายได้ถึง 90% เพียงแค่ทำครั้งเดียวเท่านั้น จากนั้น ก็จะต้องคอยติดตามอาการเรื่อย ๆ อีกระยะหนึ่ง

ทุกวันนี้ เราต้องส่งเซลล์เม็ดเลือดขาวไปเพิ่มประสิทธิภาพที่ต่างประเทศ ก่อนนำกลับมาเมืองไทยเพื่อใช้งานกับผู้ป่วยมะเร็งคนนั้น ๆ โดยมีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ประมาณ 15 ล้านบาท

Pre-Clinical Stage
Clinical Stage
คาดการณ์ระยะเวลา
ใช้งานได้จริง
01

วิจัยจากหนูทดลอง

02

ปรับเข้ากับเซลล์มนุษย์

03

เพาะเลี้ยงเซลล์

อยู่ในขั้นตอนนี้
04

ทดสอบกับสัตว์ทดลอง

05

ทดสอบในอาสมัคร

คาดการณ์ระยะเวลาใช้งานได้จริง

2569
3

กลุ่มวิจัยนีโอแอนติเจนและวัคซีนต่อมะเร็ง
Neoantigen and Cancer Vaccine

การรักษาด้วยวัคซีน สำหรับการรักษาด้วยวิธีการนี้ ไม่ได้หมายความว่า เราฉีด ‘วัคซีน’ เพื่อป้องกัน ‘มะเร็ง’ แต่เป็นการฉีด ‘วัคซีน’ เพื่อรักษา ‘มะเร็ง’ โดยเริ่มจากการนำชิ้นเนื้อที่สงสัยไปตรวจหาเซลล์ที่ผิดปกติในร่างกายก่อน แล้วดูว่าเซลล์นั้นกลายพันธุ์ออกมา มีลักษณะหน้าตาแบบไหน จากนั้นจะทำการผลิตวัคซีนด้วยชิ้นส่วนโปรตีนที่หน้าตาคล้ายกับการกลายพันธุ์แบบนั้น ซึ่งวัคซีนจะจดจำได้ว่าต้องกำจัดมะเร็งที่มีหน้าตาแบบการกลายพันธุ์ โดยที่ไม่ทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาวแม้แต่น้อย อีกทั้งยังกระตุ้นการสร้างเซลล์เม็ดเลือดขาวให้ออกมาทำลายเซลล์กลายพันธุ์ไปในตัวด้วยเช่นกัน

สำหรับการวิจัยวัคซีนเฉพาะบุคคล จะมีค่าใช้จ่ายเริ่มต้นอยู่ที่ประมาณ 3 ล้านบาท

Pre-Clinical Stage
Clinical Stage
คาดการณ์ระยะเวลา
ใช้งานได้จริง
01

วิจัยจากหนูทดลอง

อยู่ในขั้นตอนนี้
02

ปรับเข้ากับเซลล์มนุษย์

03

เพาะเลี้ยงเซลล์

04

ทดสอบกับสัตว์ทดลอง

05

ทดสอบในอาสมัคร

คาดการณ์ระยะเวลาใช้งานได้จริง

2566
-
2573

การวิจัยทุกรูปแบบ จะตอบสนองมะเร็งที่ต่างกันไป หรือบางครั้งก็ช่วยเสริมประสิทธิภาพ และทำให้ผลลัพธ์ของการรักษาดีขึ้นตามไปด้วย ซึ่งกลไกหลักของภูมิคุ้มกัน คือเม็ดเลือดขาวต้องรู้ก่อนว่าเซลล์กลายพันธุ์ คือมะเร็งที่ต้องกำจัด ถ้าในร่างกายมีจำนวนเม็ดเลือดขาวเยอะ แต่โดนปิดกั้นการทำงานอยู่ ก็ให้ใช้วิธีการฉีดแอนติบอดีเข้าไปกระตุ้นการทำงาน แต่ถ้าเป็นมะเร็งบางชนิดที่กลายพันธุ์ แล้วส่งผลให้เซลล์เม็ดเลือดขาวมีน้อย วิธีรักษาแบบ Car T Cell หรือวัคซีน จะช่วยเพิ่มจำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาว และให้ประสิทธิภาพการรักษาได้ตรงจุดมากกว่า เป็นต้น